NQ Cover 1bkk

NQ’ HOUSE

NQ’ HOUSE บ้านเก่า…เล่าใหม่ บ้านที่สะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน

จากทาวเฮ้าส์เก่า 2 ชั้น บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 250 ตารางเมตร ที่แวดล้อมไปด้วยทาวเฮ้าส์หลังอื่นๆ ที่หน้าตาดูจะคล้ายๆ กัน เราก็มาสะดุดตาอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งดูรูปทรงโมเดิร์น บ้านหลังนี้มีจุดเด่นแตกต่างจากหลังอื่นๆ ด้วยการต่อเติมโครงสร้างใหม่ สะดุดตาด้วยเส้นสายที่ดูเรียบง่ายสบายตาในกล่องสีขาว ตัดกับประตูรั้วและระเบียงเหล็กสีดำได้อย่างเป็นกันเอง ยามค่ำคืนเมื่อบ้านหลังนี้เปิดไฟ ก็จะได้บรรยากาศแสงไฟอบอุ่นที่ละมุนสายตาลอดออกมาตามช่องแสงทำให้บ้านหลังนี้ดูน่าค้นหาขึ้นมาทันที บ้านหลังนี้ตั้งชื่อตามตัวอักษรย่อของเจ้าของบ้านไว้อย่างน่ารัก “ NQ’ HOUSE”

18
7
9
3
6

เริ่มต้นจากโครงสร้างเดิมที่ทาวเฮ้าส์ส่วนใหญ่มักจะพบปัญหาเรื่องความทึบแสง ทำให้การออกแบบปรับปรุงโครงสร้างเจ้าของบ้านจึงเน้นเรื่องการเจาะช่องแสงขนาดใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่ดหรือเป็นพระเอกของบ้านเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ก็เพื่อดึงแสงธรรมชาติให้กระจายเข้ามาถึงตัวบ้านเป็นการเปิดช่องแสงเดียวแต่สามารถกระจายแสงธรรมชาติไปได้ทั่วบ้าน อาทิ โถงบันได ห้องแต่งตัวและห้องนอน โดยเฉพาะบริเวณโถงชั้นล่าง พื้นที่นี้เรียกได้ว่าสวยทุกฤดู ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนที่แสงธรรมชาติส่องผ่าน หรือฤดูฝน ยามที่ฝนพรำกระทบพื้นไม้ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายของผู้อยู่อาศัยอย่างมาก ช่องแสงนี้ถูกออกแบบให้สามารถเปิด-ปิดโดยใช้ระบบไฟฟ้าเป็นตัวควบคุมคำสั่ง เลือกตาม Mood ของเจ้าของบ้านได้อย่างสะดวกสบายใน Concept “ OWN YOUR SKY ”

สำหรับฟังค์ชั่นส่วนต่างๆ ภายในบ้านนั้นผู้ออกแบบคำนึงถึงไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน การออกแบบไม่มีการกั้นเป็นห้องๆ แต่ออกแบบให้พื้นที่ทุกส่วนเชื่อมโยงถึงกันหมด โดยอิงจากกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เมื่อผ่านโรงจอดรถเข้ามาจะพบกับโถงคอริดอร์ที่ทำหน้าที่เชื่อมและแบ่งระหว่างส่วนภายในตัวบ้านและพื้นที่นั่งเล่นกึ่ง Out door ที่มีวอยด์สูงจากพื้นจรดเพดานเปิดรับแสงธรรมชาติอยู่ 

เมื่อเข้ามาภายในตัวบ้าน สิ่งแรกที่ผู้ออกแบบตั้งใจให้ผู้มาเยือนได้พบเห็นนั่นก็คือ Identity หรือ อัตลักษณ์ของเจ้าของบ้าน ที่เห็นก็รู้ได้ทันทีถึงไลฟ์สไตล์ ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานผสมผสานกับการท่องธรรมชาติ  โดยเจ้าของบ้านสามารถ Mix and Match พื้นที่โดยดีไซน์ให้บริเวณที่เก็บจักรยานกลายเป็นพื้นที่โชว์ของสะสมได้อย่างลงตัว ถัดมาจะเป็นส่วนของโต๊ะทำงานที่เจ้าของบ้านใช้ในการคิดงานหรือเคลียร์งานเล็กๆ น้อยๆ ที่สอดรับกับกิจวัตรประวัน

 ในส่วนรับประทานอาหารที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อมาจากโต๊ะทำงาน ถือว่าเป็นการออกแบบที่สะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงของโต๊ะทานข้าวหรือการเลือกวัสดุที่เบรกด้วยความอบอุ่นจากวัสดุไม้ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ใช้การวางให้แนวเส้นขอบโต๊ะทานข้าวไปถึงขอบเคาน์เตอร์ครัวรูปตัวยูเป็นแนวระนาบเดียวกันทำให้บ้านดูเนี้ยบและรู้สึกถึงความละเอียดและความใส่ใจตามแบบตัวตนของเจ้าของบ้าน ในพื้นที่นี้สามารถใช้ได้หลายฟังค์ชั่นไม่ว่าจะเป็นการทานข้าว, ทำงาน รับแขกหรือแม้กระทั่งปาร์ตี้เล็กๆ 

ในส่วนบันไดขึ้นชั้น 2 ไปสู่ห้องนอน เลือกใช้โครงสร้างบันไดเหล็กผสมกับแผ่นไม้จริง White oak ขนาด 3 นิ้วเพื่อให้รู้สึกถึงความแข็งแรงเวลาย่างก้าว ด้านข้างยังกรุกระจกใสเปิดโล่ง ยามที่แสงแดดส่องเกิดเงาถือเป็นเสน่ห์ที่ทำให้บันไดที่ดูเรียบๆ สวยขึ้นมาทันตา พอขึ้นมาชั้น 2 เปิดเข้าสู่ห้องนอน ถือเป็นห้องแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง ด้วยความเรียบโล่งและเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นแต่เต็มไปด้วยฟังค์ชั่น ห้องแห่งการพักผ่อนนี้เชื่อมต่อกับห้องน้ำที่เจ้าของบ้านมักจะใช้ผ่อนคลายยามเหนื่อยล้าด้วยการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ใหม่ ปรับระดับให้ฝ้าเพดานมีความสูงขึ้น ให้ความรู้สึกเหมือนโรงแรมแล้วเลือกใช้วัสดุที่ให้ความรู้สึกธรรมชาติแต่มีความทนทาน เช่น หินเทียม รูปทรงเคาน์เตอร์และสุขภัณฑ์เป็นงานโมเดิร์น เรียบ เนี้ยบ แต่มากด้วยรายละเอียด

 ขึ้นชื่อว่าบ้านไม่ว่าจะเป็นสไตล์ไหน ถ้าการออกแบบตอบโจทย์กับไลฟ์ไตล์ของเจ้าของบ้าน บ้านก็คือที่พักผ่อน คือสถานที่ที่คอยเชื้อเชิญและต้อนรับคุณด้วยความอบอุ่นทุกครั้งที่คุณต้องการเสมอ

ให้ Photographer ที่มีความเข้าใจและความละเอียดตลอดจนการใส่ใจเข้าไปในการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพสวยๆ สามารถติดต่อ DEC MEDIA ได้นะคะ

PROJECT: NQ HOUSE
INTERIOR AND ARCHITECT DESIGN: TEAM THEROOMMAKER
SERVICE: DEC PHOTOGRAPHY
PHOTOGRAPHER: SURAWEE TANGJITWATTANA

#รับทำ3Dsimulator #รับทำ3Dpresentation #รับทำออกแบบภาพ3มิติ #รับทำ3Dmodel #รับทำanimation #รับทำ3Danimation #รับทำ3Dperspective #รับออกแบบ3Dperspective #Photography #Architecture #InteriorDesign